ผลของความเอนเอียงในสถานการณ์จริง ๆ ของ ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง

ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

การแสดงออกของความเอนเอียงนี้อาจขึ้นอยู่กับความใกล้ชิดกันระหว่างบุคคล คือความสัมพันธ์ทางสังคมเมื่อทำงานเป็นคู่ในงานที่สืบเนื่องกัน คู่ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดจะไม่แสดงความเอนเอียงนี้ ในขณะที่คู่ที่มีความสัมพันธ์ห่างกันจะแสดง[4] งานศึกษาความเอนเอียงในสังคมหนึ่งเสนอว่า ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดจะจำกัดความโน้มเอียงในการยกตนของแต่ละบุคคล[26] คือแต่ละคนจะถ่อมตัวกว่าเมื่อมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด และเป็นไปได้น้อยกว่าที่จะใช้ความสัมพันธ์นั้นเพื่อประโยชน์ตนแม้ว่า ความเข้าใจว่าทำไมคู่ที่มีความสัมพันธ์เช่นนี้จึงเว้นจากความเอนเอียงนี้ ยังไม่ชัดเจนแต่อาจจะอธิบายได้โดยส่วนหนึ่ง โดยความรู้สึกดี ๆ ที่มีต่อกันและกันงานวิจัยอีกงานหนึ่งพบผลที่คล้ายคลึงกัน เมื่อตรวจสอบเพื่อนและคนแปลกหน้ามีการให้ผู้ร่วมการทดลองเป็นคู่ ๆ ทำงานสร้างสรรค์ที่สืบเนื่องกัน แต่บอกว่าผลงานเป็นความสำเร็จหรือความล้มเหลวโดยกุขึ้นคนแปลกหน้ามักจะแสดงความเอนเอียงนี้ในการอ้างเหตุผลส่วนผู้เป็นเพื่อนมักจะยกคุณและโทษให้ทั้งตนเองและเพื่อนเท่า ๆ กันทั้งกรณีสำเร็จและกรณีล้มเหลวซึ่งนักวิจัยถือเอาเป็น "ขอบเขตของการยกตนเอง"[4]

ในที่ทำงาน

มีงานวิจัยที่แสดงว่า ผลการสมัครงานสามารถอธิบายได้ด้วยความเอนเอียงนี้ ถ้าได้งานเราจะอ้างว่าเป็นเพราะเหตุภายใน แต่ถ้าไม่ได้งานก็จะอ้างว่าเป็นเพราะปัจจัยภายนอก[27] แต่ว่า เมื่อมีการตรวจสอบคำอธิบายความว่างงานด้วยการทดลอง โดยการให้ผู้ร่วมการทดลองจินตนาการถึงงานที่กำลังรับสมัคร และความเป็นไปได้ในระดับต่าง ๆ ของการได้งาน จะไม่พบความเอนเอียงชนิดนี้[3] นักวิจัยอ้างว่า นี้อาจจะเป็นเพราะความแตกต่างกันระหว่างบทบาทของผู้กระทำ-ผู้สังเกตการณ์ ในการแสดงความเอนเอียงนี้ในที่ทำงานจริง ๆ ผู้ที่รับความบาดเจ็บต่ออุบัติเหตุที่รุนแรงมักจะโทษปัจจัยภายนอกแต่ว่า เพื่อนร่วมงานและผู้บริหารมักจะโทษการกระทำของผู้ที่รับความบาดเจ็บ[28]

ความต่าง ๆ กันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของความเอนเอียง ที่กล่าวถึงในหัวข้อที่แล้ว จะมีผลต่อการอ้างเหตุของผลที่เกิดขึ้นในที่ทำงานในงานทดลองหนึ่งที่ตรวจสอบพลวัตของกลุ่ม มีการให้ผู้ร่วมการทดลองซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่ม ทำงานตัดสินใจผ่านการสื่อสารกับสมาชิกอื่น ๆ ทางคอมพิวเตอร์ผลงานทดลองว่า ในผลล้มเหลว ผู้ร่วมการทดลองจะมีความเอนเอียงนี้และความห่างไกลกันเพราะเหตุความสัมพันธ์ที่มีผ่านคอมพิวเตอร์ จะเพิ่มระดับการยกโทษให้กันและกันในกรณีล้มเหลว[29]

มีงานวิจัยหลายงานที่พบว่า ความรักตัวเอง (narcissism) มีความสัมพันธ์กับการให้คะแนนตัวเองสูงขึ้นของหัวหน้ากลุ่ม ในงานวิจัยปี ค.ศ. 2006 นักวิจัยก็พบเหมือนกันว่า ความรักตัวเองมีความสัมพันธ์กับการชื่มชมตัวเองของหัวหน้ากลุ่มแต่ว่า ความรักตัวเองของหัวหน้ากลุ่มจะมีผลลบต่อการให้คะแนนหัวหน้าจากลูกน้อง และงานวิจัยก็แสดงด้วยว่า ความรักตัวเองของหัวหน้า จะมีผลเป็นการให้คะแนนบวกกับตัวเองแม้ในการกระทำที่มีผลลบต่อองค์กร และในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งจะแตกต่างจากคะแนนที่ลูกน้องให้กับหัวหน้า[30] และเพราะว่าความรักตัวเองหมายถึงทั้งการชื่มชมตัวเองที่มีกำลังและความโน้มน้าวทางพฤติกรรมอย่างอื่น ๆ ที่อาจจะดูไม่ดีสำหรับคนอื่นเป็นไปได้ที่ความรักตัวเองจะมีอิทธิพลต่อความรู้สึกเกี่ยวกับตัวเองและความรู้สึกเกี่ยวกับผู้อื่นที่ต่าง ๆ กันและความเข้าใจในเรื่องนี้อาจสำคัญเพราะว่า ความแตกต่างของความรู้สึกต่อตนเองและต่อผู้อื่น เป็นรากฐานของการบริหารการปฏิบัติงานและการพัฒนาบางวิธี[30]

ในห้องเรียน

งานวิจัยทั้งในห้องแล็บทั้งในเหตุการณ์จริง ๆ พบว่า ทั้งคุณครูทั้งนักเรียนต่างก็มีความเอนเอียงรับใช้ตนเอง เกี่ยวเนื่องกับผลที่ได้ในห้องเรียน[31] การยกย่องตนเองและโทษปัจจัยอื่น อาจจะทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างคุณครูกับนักเรียน เพราะว่า ต่างคนต่างไม่รับผิดชอบ (ผลไม่ดีที่เกิดขึ้น)คือ นักเรียนอาจจะโทษคุณครู ในขณะที่คุณครูก็จะถือเอาว่าเป็นหน้าที่ของนักเรียนแต่ว่า ทั้งคุณครูทั้งนักเรียนต่างก็มีความเข้าใจว่า อีกฝ่ายหนึ่งมีความเอนเอียง ซึ่งอาจจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าอาจจะมีวิธีแก้ปัญหานี้

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญของชีวิตมีงานวิจัยที่แสดงว่า เราอาจจะมีปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ เหมือนกับมีกับบุคคลอื่น โดยที่เป็นไปใต้จิตสำนึก[32] การมีปฏิสัมพันธ์เยี่ยงนี้ บวกกับทฤษฎีความเอนเอียงรับใช้ตนเอง ดูเหมือนจะแสดงว่าผู้บริโภคที่ใช้คอมพิวเตอร์ซื้อสินค้า อาจจะยกเครดิตให้ตนเองเมื่อการซื้อสินค้านั้นสำเร็จลงด้วยดี แต่จะโทษคอมพิวเตอร์เมื่อมีผลลบแต่ก็มีผลงานวิจัยที่พบว่า ผู้บริโภคจะให้เครดิตคอมพิวเตอร์เมื่อเกิดความสำเร็จและจะไม่โยนโทษให้เมื่อมีความล้มเหลวถ้ามีการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวกับคอมพิวเตอร์ ที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าอาจทำให้เกิดความเสียหายได้[6] เหตุผลที่ไม่โทษคอมพิวเตอร์อีกอย่างหนึ่งก็คือ เราคุ้นเคยต่อความใช้งานได้ที่ไม่ค่อยดี ลูกเล่นสมรรถภาพที่ใช้ยาก จุดบกพร่องต่าง ๆ และความล้มเหลวฉับพลัน ที่พบในโปรแกรมประยุกต์ (ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน) โดยทั่ว ๆ ไป ดังนั้น เราจึงไม่ค่อยบ่นเกี่ยวกับปัญหาคอมพิวเตอร์และกลับเชื่อว่า เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของตนที่จะต้องเข้าใจปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น และที่จะหาวิธีแก้ปัญหาเหล่านั้นปรากฎการณ์ที่แปลกนี้ พบในงานตรวจสอบปฏิสัมพันธระหว่างมนุษย์-คอมพิวเตอร์หลายงานเมื่อไม่นานนี้[33]

การกีฬา

มีหลักฐานว่า นักกีฬามีความเอนเอียงรับใช้ตนเองเมื่อพิจารณาผลของการแข่งขันในงานวิจัยหนึ่ง ที่นักกีฬามวยปล้ำระดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา กล่าวถึงเหตุของผลการแข่งขันผู้ชนะจะมีโอกาสมากกว่าผู้แพ้ ที่จะอ้างเหตุภายใน (คือชมว่าเป็นความสามารถของตน)[5] นักวิจัยให้ข้อสังเกตว่า มวยปล้ำเป็นการแข่งขันหนึ่งต่อหนึ่งและมีผู้ชนะที่ชัดเจนดังนั้น กีฬาชนิดอื่นที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน อาจจะมีปรากฎการณ์ของความเอนเอียงคล้าย ๆ กันแต่ว่ากีฬาทีม หรือกีฬาที่มีการแพ้ชนะที่ไม่ชัดเจน อาจจะไม่มีรูปแบบความเอนเอียงในลักษณะเดียวกัน[5]

ภาวะซึมเศร้า

คนไข้ภาวะซึมเศร้ามักจะมีความเอนเอียงนี้ในระดับที่น้อยกว่าคนปกติ[9] ในงานทดลองหนึ่งที่สำรวจผลของพื้นอารมณ์ (mood) ต่อความเอนเอียงนี้ โดยที่พื้นอารมณ์ของผู้ร่วมการทดลอง จะมีการปรับเปลี่ยนให้เป็นไปทางเชิงบวกหรือเชิงลบผู้มีพื้นอารมณ์เชิงลบ มีโอกาสที่จะให้เครดิตตัวเองเพราะผลสำเร็จน้อยกว่าผู้มีพื้นอารมณ์เชิงบวก โดยไปให้เครดิตปัจจัยภายนอกแทน[34] มีการเสนอว่า พื้นอารมณ์เชิงลบของผู้มีภาวะซึมเศร้า และความใส่ใจที่มุ่งไปในตน เป็นตัวอธิบายว่า ทำไมคนไข้คลินิกที่มีภาวะซึมเศร้า จึงมีโอกาสน้อยกว่าที่จะแสดงความเอนเอียงนี้เทียบกันคนปกติ[9]

ดูเพิ่มเติมที่: สัจนิยมเหตุซึมเศร้า

ใกล้เคียง

ความเสียวสุดยอดทางเพศ ความเจ็บปวด ความเหนือกว่าเทียม ความเท่าเทียมทางเพศ ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี ความเครียด (จิตวิทยา) ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง http://www.aserenko.com/papers/IwC_Published_Scape... http://www.timothy-judge.com/Judge,%20LePine,%20an... //doi.org/10.1002%2Fejsp.2420120402 //doi.org/10.1007%2Fs12144-011-9121-2 //doi.org/10.1016%2F0191-8869(92)90129-D //doi.org/10.1016%2Fj.intcom.2006.07.005 //doi.org/10.1016%2Fj.jad.2012.01.041 //doi.org/10.1016%2Fj.ssci.2005.06.006 //doi.org/10.1016%2Fs1053-8119(03)00331-8 //doi.org/10.1037%2F%2F0022-3514.82.1.49